เข้าชมเว็บไซต์ สสส.
Skip to main content
talk about SEX logo talk about SEX
Syndicate content

ค้นหา

Primary links

  • หน้าแรก
  • เรื่องน่ารู้
    • เรื่องเด็กเด็ก
    • วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ
    • เข้าใจจุดซ่อนเร้น
    • ไขความลับเรื่องเพศ
    • เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง
    • ทิปคุยได้เรื่องเพศ
  • บอร์ดพูดคุย
  • แบบทดสอบ
  • อัพเดทข่าว
  • มัลติมีเดีย
  • แหล่งข้อมูล
    • ดาวน์โหลด
    • รวมลิงค์ เพศศึกษา
  • รู้จักกัน
    • ติชม/เสนอแนะ
หน้าแรก » เรื่องน่ารู้ » คอมพิวเตอร์ » อ่านหนังสือจากหน้าจอส่งผลต่อสุขภาพ

ขนาดตัวอักษร ขนาดปกติ|ขนาดใหญ่ขึ้น 10%|ขนาดใหญ่ขึ้น 20%|ขนาดใหญ่ขึ้น 30%

อ่านหนังสือจากหน้าจอส่งผลต่อสุขภาพ

วันที่ 17 January 18 13:53:04 | โดย editor

การอ่านหนังสือจากหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอนมีผลต่อสุขภาพหรือไม่

          ทีมแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดทำการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มคนที่อ่านหนังสือจากหน้ากระดาษธรรมดา กับกลุ่มคนที่อ่านจากเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ ‪#‎E-reader ที่หน้าจอเปล่งแสง พบว่า กลุ่มที่อ่านจากอีรีดเดอร์จะหลับยากกว่า นอนหลับไม่สนิท และรู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าในวันรุ่งขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่า คนเราควรจะลดการจ้องมองแสงจ้าลงในเวลากลางคืน

          ทั้งนี้ ร่างกายคนเราทำงานตามนาฬิการ่างกายซึ่งใช้ปริมาณแสงเป็นตัวบอกเวลา แต่แสงสีฟ้าจากหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความยาวคลื่นแบบเดียวกันไม่ว่าจะเป็นแสงจากจอสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต หรือแหล่งกำเนิดแสงจากหลอดแอลอีดีอื่นๆ จะรบกวนการทำงานของนาฬิการ่างกายให้รวน

          การจ้องมองแสงสีฟ้าในเวลากลางคืนสามารถลดหรือหยุดการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งช่วยให้นอนหลับ โดยจากการทดลองกับคน 12คนที่มาอยู่ในห้องแล็บทดสอบการนอนเป็นเวลาสองสัปดาห์ โดยใช้เวลา 5วันอ่านหนังสือธรรมดาก่อนนอน และอีก 5วันอ่านจากหน้าจอไอแพด พบว่า ผลตรวจเลือดจะมีปริมาณของฮอร์โมนเมลาโทนินลดลงเมื่ออ่านหนังสือจากหน้าจอไอแพด

          ผลการทดลองนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารรายงานการประชุมของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ โดยศาสตราจารย์ชาร์ลส์ เซสเลอร์ หัวหน้าคณะวิจัยกล่าวกับบีบีซีว่า แสงจากหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะฉายตรงเข้าไปในดวงตา ต่างจากการอ่านหนังสือธรรมดาหรือการอ่านจากคินเดิลที่เป็นอีรีดเดอร์รุ่นเก่าซึ่งแสงที่เข้าดวงตาผู้อ่านเป็นเพียงแสงสะท้อนจากหน้ากระดาษเท่านั้น และเมื่อการนอนถูกรบกวนก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน และมะเร็งเพิ่มขึ้น

          ด้าน ดร. วิคตอเรีย รีเวล จากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ของอังกฤษ บอกว่า ควรจะแนะนำให้ผู้คนลดการจ้องมองจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลากลางคืน โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ซึ่งมีนาฬิการ่างกายเดินช้ากว่าจนมักจะนอนดึกและตื่นสายอยู่แล้ว ซึ่งการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จนดึกดื่นยิ่งทำให้นาฬิการ่างกายเดินไม่ทันเวลาจริงมากเข้าไปอีก และวัยรุ่นที่ต้องตื่นเช้าไปโรงเรียนก็ยิ่งน่ากังวลเป็นพิเศษ

 

ที่มาข้อมูล:  มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)

 

                                                     update : 17-01-61

 

                                                     อัพเดทโดย : จารุทรรศน์ สิทธิสมบูรณ์

หมวดหมู่ :
  • คอมพิวเตอร์
  • มือถือ
  • สมาร์ทโฟน
  • หนังสือ
  • หน้าจอ
  • เรื่องเด็กเด็ก
  • เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็น
  • เปิดอ่าน 456 ครั้ง
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ

ทิปคุยได้เรื่องเพศ

  • เริ่มคุยเรื่องเพศกับลูกเมื่อไหร่ดี?
  • คำถาม(เรื่องเพศ)ยอดฮิตที่ลูกชอบถาม
  • ทำความเข้าใจ ‘อาการโรคจิต’
  • 10 ความคิดเปลี่ยน ชีวิตก็เปลี่ยน
  • คุยเรื่องเพศกับลูกอย่างไรดี?
  • ‘8 วอร์มอัพ’ ก่อนคุยเรื่องเพศกับลูก
  • `หอยแครง` กินได้สบายใจ
  • `เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น` ตอนที่ 2
  • 'เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น’ ตอนที่ 1
  • “รักลูก” ต้องสอนลูกให้ “รักเป็น”

เรื่องเด็กเด็ก

  • การนอนหลับที่ดีทำอย่างไร
  • เปลี่ยนอารมณ์ติดลบ เป็นอารมณ์บวก
  • ทำความรู้จักประเภทของอารมณ์
  • กินอย่างไรเมื่อ ท้องเสียเฉียบพลัน
  • ปวดหัวข้างเดียว อาจไม่เกี่ยวกับไมเกรน
  • ดื่มน้ำอย่างไรให้ร่างกายสดชื่น
  • เย็นนี้กินยังไงดี ?
  • เรื่องที่ต้องเลี่ยงหลังกินอิ่ม
  • ยืดเหยียดเพื่อยืดหยุ่น
  • กินอาหารอย่างถูกวิธี ตามแพทย์แผนตะวันตก คือปฏิบัติดังนี้

วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ

  • CHECKLIST คุณกำลังเข้าข่ายคนบ้างานหรือไม่
  • เปลี่ยนตัวเองต้องตั้งใจ ไม่ใช่อาศัยความกดดันไปวัน ๆ
  • กินยาคุมแบบ21เม็ดครบแล้ว เว้น7วัน ประจำเดือนไม่มาซะงั้น
  • นี่คือสิ่งที่คนมีความสุขจะทำ ใน 5 นาทีแรกของวันตั้งแต่ตื่นนอน
  • ผู้หญิงช่วยตัวเองแล้วเลือดออก เกิดจากอะไรได้บ้าง
  • ผลของสุราและแอลกอฮอล์ที่มีต่อร่างกาย
  • เลิกบุหรี่ ต้องตั้งใจลงมือทำ
  • พูดไม่รู้เรื่อง กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจเป็นโรคโมยาโมยา
  • การขจัดความเครียด
  • ภาวะอารมณ์กับความเครียด

เข้าใจจุดซ่อนเร้น

  • หนุ่มๆ ต้องดูแลน้องชายอย่างไร ให้สะอาดและสุขภาพดี
  • เลิกอาย ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้
  • ปวดท้องตรงกลาง ปวด ๆ หาย ๆ ป่วยอะไรได้บ้าง
  • “ขี้เปียก” เรื่องที่ผู้ชายควรใส่ใจ
  • 7 อาหารแก้ปวดประจำเดือน กินแล้วชีวิตดี๊ดี
  • มีตกขาว ไม่ต้องตกใจ
  • เข่าลั่นขณะปั่น สัญญาณปัญหาเข่า
  • ว่าด้วยข้อเท็จจริงและความเอียงเอนของอวัยวะเพศชาย
  • ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ควรดูแลตัวเองแบบไหน
  • ริดสีดวงทวารหนัก...ดูแลสุขภาพอย่างไร

ไขความลับเรื่องเพศ

  • ผู้ชายแมนจริงต้องอึดเวลาร่วมเพศงั้นหรือ?
  • อวัยวะเพศชายหักได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกระดูก?
  • หนูๆวัยอนุบาลกับ “การช่วยตัวเอง”
  • ก่อนมีเมนส์ ..อาการไหนไม่ปกติ?
  • วิถีชีวิตประจำวันที่มีผลต่อหมอนรองกระดูก
  • เมื่อมีลูกสาววัยรุ่น
  • 5 สารอาหารเสริมสร้างความแข็งแรงสำหรับคุณผู้ชาย
  • รู้ทันมะเร็งปากมดลูก
  • การทำหมันหญิง
  • “เอชพีวี” ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด

เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง

  • เคล็ด (ไม่) ลับ หยุดความรุนแรงในครอบครัว
  • 5 สิ่งควรรู้สำหรับผู้หญิง
  • 7 วิธีรักษาความรัก เมื่อหัวใจของคุณกำลังอ่อนแอ
  • เคล็ด(ไม่)ลับ สร้างสุขชีวิตคู่
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อรักผิดหวัง
  • มีอะไรกันแบบนี้จะท้องไหม?
  • สร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อรักผิดหวัง
  • เซ็กส์หลังคลอด…เมื่อไรดี?
  • 10 กฎเหล็กเพื่อชีวิตคู่
  • 9 วิธี `รัก` อย่างไรไม่เป็นทุกข์
creative-commons แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
  • logo-Thaihealth
  • logo-Whaf
  • logo-Changefusion
  • logo-Opendream