เข้าชมเว็บไซต์ สสส.
Skip to main content
talk about SEX logo talk about SEX
Syndicate content

ค้นหา

Primary links

  • หน้าแรก
  • เรื่องน่ารู้
    • เรื่องเด็กเด็ก
    • วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ
    • เข้าใจจุดซ่อนเร้น
    • ไขความลับเรื่องเพศ
    • เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง
    • ทิปคุยได้เรื่องเพศ
  • บอร์ดพูดคุย
  • แบบทดสอบ
  • อัพเดทข่าว
  • มัลติมีเดีย
  • แหล่งข้อมูล
    • ดาวน์โหลด
    • รวมลิงค์ เพศศึกษา
  • รู้จักกัน
    • ติชม/เสนอแนะ
หน้าแรก » เรื่องน่ารู้ » เข้าใจจุดซ่อนเร้น » “หัวนม” แบบไหน “ไม่ปกติ”

ขนาดตัวอักษร ขนาดปกติ|ขนาดใหญ่ขึ้น 10%|ขนาดใหญ่ขึ้น 20%|ขนาดใหญ่ขึ้น 30%

“หัวนม” แบบไหน “ไม่ปกติ”

วันที่ 22 September 17 10:50:05 | โดย editor

หัวนมของผู้หญิงมีหน้าที่หลักคือการเป็นช่องทางส่งผ่านน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงทารกใต้หัวนมแต่ล่ะ ข้างมีท่อน้ำนมข้างละ15-20ท่อ นอกจากนี้หัวนมยังเป็นจุดรวมของเส้นประสาทจำนวนมาก

            มีหลายเรื่องราวเกี่ยวกับหัวนม ที่จะช่วยบอกให้เรารู้ได้ว่า หัวนมของเราเป็นปกติดีหรือเปล่า หรือหัว นมแบบไหนที่กำลังส่งสัญญาณว่าอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของเราโดยเฉพาะบริเวณ เต้านม

            - ขนาดของหัวนมเปลี่ยนแปลงได้เกินคาด หัวนมโดยทั่วไปมีขนาดประมาณ10มิลลิเมตร(ไม่ นับรวมฐานหัวนม) อย่างไรก็ตามหัวนมของแต่ละคนมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น หัวนมยาว หัว นมหลบใน หรือหัวนมบอด ไม่ถือเป็นความผิดปกติแตอย่างใด

            ขณะตั้งครรภ์และหลังการคลอดบุตร หัวนมมักขยายใหญ่ขึ้นเกือบเท่าตัว อันเป็นผลมา จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน

            - สีของหัวนมแตกต่างกัน หัวนมอาจมีสีน้ำตาลอ่อน น้ำตาลเข้ม จนถึงเกือบดำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ชาติพันธุ์และครอบครัว ส่วนหัวนมชมพูดูน่ารักนั้น เป็นคำโฆษณาจากคลินิกเสริมสวยเสียเป็นส่วน ใหญ่การตั้งครรภ์อาจมีผลให้หัวนมมีสีเข้มคล้ำขึ้นด้วยเช่นกัน          

            - หัวนมมีพื้นผิวขรุขระ ไม่ต้องกังวลถ้าหัวนมและฐานหัวนมของคุณจะมีพื้น ผิวไม่เนียนเรียบ แต่มีความหยาบ ขรุขระ ถือเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากบริเวณหัวนมมีทั้งท่อรูขุมขน และต่อมน้ำเหลือง ที่ผลิตน้ำนม

            แต่หากสังเกตว่าหัวนมเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยมีพื้นผิวขรุขระเพิ่มขึ้นผิดจากที่เคยเป็นมา อาจเป็นสัญญาณของโรคผิวหนังบางชนิด หรือ “มะเร็งเต้านม” ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอาการ

            - หัวนมกับอารมณ์ทางเพศ เนื่องจากบริเวณหัวนมเป็นจุดรวมของเส้นประสาทจึงไวต่อการ กระตุ้นเร้า ซึ่งจะส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนอ็อกซิโตซิน (Oxytocin) ฮอร์โมน ที่ว่านี้ทำหน้าที่หลักในการคลอดและให้นมบุตร อ็อกซิโตซินยังถูกเรียกว่าเป็นฮอร์โมนแห่ง ความรักความผูกพัน ทำให้แม่ผูกพันกับลูก และทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันไว้วางใจขณะมีเซ็กซ์ มีผลวิจัยที่พบว่า การกระตุ้นที่หัวนมเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้ผู้หญิงถึงจุดสุดยอดได้ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างการมีประจำเดือน ช่วงประจำเดือนนใกล้จะมา  หรือเพิ่งจะหมดไป

หัวนมผู้หญิงจะไวต่อการกระตุ้นเร้ามากที่สุด เพราะธรรมชาติออกแบบให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนี้ มากเป็นพิเศษเพื่อเตรียมไว้เผื่อเกิดการตั้งครรภ์

            - น้ำเหลือง/ของเหลวไหลซึมจากหัวนม ตามที่ว่าไว้ตอนต้น ว่าเต้านมทั้งสองข้างมีท่อน้ำนมมาเปิดที่หัวนมข้างละ 15-20 ท่อ ถ้าพบน้ำเหลือง หรือของเหลวใดๆ ไหลจากหัวนม แต่ไม่ใช่น้ำนมขณะให้นมบุตร อย่านิ่งนอนใจเพราะสาเหตส่วนใหญ่ มาจากการมีก้อน เนื้อในท่อน้ำนม หรือเกิด การเปลี่ยนแปลงของซีสต์ที่เต้านมและอาจมีสาเหตุ จากมะเร็งเต้านมก็เป็นได้

             หากพบความผิดปกติลักษณะนี้ จึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอาการ หากมีโรคร้ายจะ ได้เร่งเยียวยารักษาอย่างทันท่วงที

 

ที่มาข้อมูล: ตีแผ่ในหนังสือพิมพ์คมชัดสึก คอลัมน์ สุขกับเซ็กซ์ โดย รัชดา ธราภาค มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.)

 

                                                   update : 22-09-60

                                                   อัพเดทโดย : จารุทรรศน์ สิทธิสมบูรณ์ 

หมวดหมู่ :
  • เข้าใจจุดซ่อนเร้น
  • เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็น
  • เปิดอ่าน 993 ครั้ง
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ

ทิปคุยได้เรื่องเพศ

  • คุยเรื่องเพศกับลูกอย่างไรดี?
  • ‘8 วอร์มอัพ’ ก่อนคุยเรื่องเพศกับลูก
  • `หอยแครง` กินได้สบายใจ
  • `เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น` ตอนที่ 2
  • 'เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น’ ตอนที่ 1
  • “รักลูก” ต้องสอนลูกให้ “รักเป็น”
  • สอนให้คิด พัฒนาเด็ก `ฉลาดและดี`
  • อย่าอายที่จะสอนเรื่องเพศกับลูก
  • วัยรุ่นถึงวัยใจอ่อนไหวกับความรัก
  • ฟังอย่างไรให้ลูกพูด

เรื่องเด็กเด็ก

  • อาการท้องผูก
  • วิธีพูดเชิงบวกกับลูก...
  • อ่านหนังสือจากหน้าจอส่งผลต่อสุขภาพ
  • 7เทคนิคขับรถปลอดภัยในช่วงปีใหม่
  • ‘5 วิธีคิด’ สร้างความสุขใหม่ในชีวิตเดิม
  • พร้อมรับมือ เมื่อลูกอกหัก
  • วิธีจัดการกับอารมณ์ของวัยรุ่น
  • 8 ขั้นสร้างความไว้วางใจ คุยกับลูกเรื่องเพศ
  • 'คราบหินปูน' อันตรายกว่าที่คิด
  • 7 ประโยชน์ที่คุณควรหัวเราะ

วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ

  • กินเหล้า = เผละ
  • 6 ปัญหาสุขภาพเสี่ยงป่วยแน่ แค่เราดื่มน้ำไม่พอ
  • "ขนตาปลอม" มีอันตรายต่อดวงตาหรือไม่
  • ถ้าเป็นสิว เมื่อไรควรไปพบแพทย์
  • 8 เคล็ดลับห่างไกลจากโรคทางอารมณ์
  • 4 อาการ ‘ผู้หญิง ’ อย่านิ่งนอนใจ
  • ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
  • `เครื่องสำอาง` ได้มาตรฐาน ดูอย่างไร?
  • โรคหูดับ
  • จริงหรือ...! ที่วัยรุ่นขี้เซา

เข้าใจจุดซ่อนเร้น

  • ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ควรดูแลตัวเองแบบไหน
  • ริดสีดวงทวารหนัก...ดูแลสุขภาพอย่างไร
  • สีอวัยวะเพศนั้นสำคัญไฉน
  • ท้องนอกมดลูก
  • ว่ายน้ำได้ไหม?...ในวันนั้น(ของเดือน)
  • ดูแลตัวเองให้ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก
  • ต้านมะเร็งเต้านม เน้นกลุ่มเสี่ยง`โสด-มีลูกช้า`
  • ตุ่มอะไรอยู่ในร่มผ้า? เรื่องจุดซ่อนเร้น...ที่ผู้หญิงต้องใส่ใจ
  • “หัวนม” แบบไหน “ไม่ปกติ”
  • ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย!!

ไขความลับเรื่องเพศ

  • การทำหมันหญิง
  • “เอชพีวี” ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด
  • สิ่งที่ควรรู้ เพื่อป้องกันความรุนแรง
  • โรคหลอดเลือดสมองส่งผลด้านเพศ
  • วิ่งออกกำลังกาย มีผลอย่างไรต่อเซ็กส์
  • แค่ไหนเรียก ‘ติดเซ็กซ์’
  • เราควรตรวจมะเร็งปากมดลูกบ่อยแค่ไหน
  • “คนท้องออกกำลังกาย”ได้หรือไม่
  • นวัตกรรมช่วย“หญิงมีลูกยาก”
  • ปวดท้องน้อยในผู้ชาย อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง

  • เคล็ด (ไม่) ลับ หยุดความรุนแรงในครอบครัว
  • 5 สิ่งควรรู้สำหรับผู้หญิง
  • 7 วิธีรักษาความรัก เมื่อหัวใจของคุณกำลังอ่อนแอ
  • เคล็ด(ไม่)ลับ สร้างสุขชีวิตคู่
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อรักผิดหวัง
  • มีอะไรกันแบบนี้จะท้องไหม?
  • สร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อรักผิดหวัง
  • เซ็กส์หลังคลอด…เมื่อไรดี?
  • 10 กฎเหล็กเพื่อชีวิตคู่
  • 9 วิธี `รัก` อย่างไรไม่เป็นทุกข์
creative-commons แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
  • logo-Thaihealth
  • logo-Whaf
  • logo-Changefusion
  • logo-Opendream