เข้าชมเว็บไซต์ สสส.
Skip to main content
talk about SEX logo talk about SEX
Syndicate content

ค้นหา

Primary links

  • หน้าแรก
  • เรื่องน่ารู้
    • เรื่องเด็กเด็ก
    • วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ
    • เข้าใจจุดซ่อนเร้น
    • ไขความลับเรื่องเพศ
    • เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง
    • ทิปคุยได้เรื่องเพศ
  • บอร์ดพูดคุย
  • แบบทดสอบ
  • อัพเดทข่าว
  • มัลติมีเดีย
  • แหล่งข้อมูล
    • ดาวน์โหลด
    • รวมลิงค์ เพศศึกษา
  • รู้จักกัน
    • ติชม/เสนอแนะ
หน้าแรก » เรื่องน่ารู้ » คราบหินปูน » 'คราบหินปูน' อันตรายกว่าที่คิด

ขนาดตัวอักษร ขนาดปกติ|ขนาดใหญ่ขึ้น 10%|ขนาดใหญ่ขึ้น 20%|ขนาดใหญ่ขึ้น 30%

'คราบหินปูน' อันตรายกว่าที่คิด

วันที่ 3 July 17 14:46:35 | โดย editor

อีกหนึ่งปัญหาในช่องปากก็คือคราบหินปูนที่เกาะตามผิวฟัน หลายคนอาจมองข้ามการรักษาเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ขณะที่ความจริงแล้วปัญหาดังกล่าวอาจนำมาสู่ปัญหาช่องปากอื่น ๆ ได้อย่างคาดไม่ถึง

          คราบหินปูนถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หินน้ำลาย" เกิดจากคราบจุลินทรีย์หรือ Bacterial plaque ที่ถูกแร่ธาตุในน้ำลายจับตัวตกตะกอน แข็งตัวเป็นหินน้ำลาย เกาะอยู่บนคอฟันบริเวณขอบเหงือกและซอกฟัน โดยปกติในระยะแรก คราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่บนผิวฟันจะมีลักษณะนิ่มและสามารถแปรงออกได้ แต่เมื่อใดที่มีแร่ธาตุจากน้ำลายมาผสมด้วยจะกลายเป็นคราบหินปูน ที่มีลักษณะเป็นของแข็งไม่สามารถถูกกำจัดออกได้ด้วยการแปรงฟัน ต้องให้ทันตแพทย์ทำการรักษาขูดหินปูนออกไปเท่านั้น

          ผลข้างเคียงของปัญหาคราบหินปูนจะเกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของคราบจุลินทรีย์ในหินน้ำลายมากขึ้น จุลินทรีย์เหล่านี้จะปล่อยสารพิษที่เป็นกรด และมีการกระตุ้นกระบวนการอักเสบของร่างกาย จนเกิดปัญหาในช่องปากได้ คือ ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ และเมื่อปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธี เกิดการลุกลาม จนเป็นโรคปริทันต์อักเสบ กระดูกที่รองรับรากฟันจะค่อย ๆ ละลาย เหงือกร่น ฟันโยก เลือดออกขณะแปรงฟัน มีกลิ่นปาก เป็นต้น

          ดังนั้นปัญหาคราบหินปูนจึงเป็นปัญหาช่องปากที่ควรได้รับการดูแลจากทันตแพทย์ตามความเหมาะสม ส่วนความถี่ที่เหมาะสมในการขูดหินปูน สำหรับคนทั่วไปที่มีอาการเหงือกอักเสบเพียงเล็กน้อยควรได้รับการขูดหินปูนทุก 6 เดือน แต่ถ้าหากมีอาการของโรคปริทันต์อักเสบด้วย ทันตแพทย์อาจจะนัดมาตรวจติดตาม ทำการขูดหินปูนเกลารากฟันทุก 3-4  เดือน

          วิธีการขูดหินปูน ทันตแพทย์จะใช้เครื่องขูดหินปูนทำการกะเทาะเอาตัวหินปูนออกจากผิวฟัน ซึ่งวิธีการนี้จะไม่ได้ขูดที่ผิวฟันโดยตรงและไม่ได้ทำอันตรายกับเนื้อฟัน ขณะที่หลายคนยังคงเข้าใจผิดอยู่ว่าการขูดหินปูนจะต้องขูดเนื้อฟันและทำให้ฟันห่าง จึงไม่อยากขูดหินปูน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ส่วนอาการเสียวฟันขณะขูดหินปูนอาจเกิดขึ้นได้เล็กน้อย เว้นแต่บางกรณีที่ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ อาจรู้สึกเสียวฟันหรือมีอาการเจ็บ ทันตแพทย์ก็จะใช้ยาชาร่วมกับการขูดหินปูน

          หลังขูดหินปูน หลาย ๆ คนจะสังเกตเห็นว่าฟันจะห่างออกจากกัน ซึ่งตรงนี้เองที่หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ว่าเป็นเพราะการขูดหินปูนของทันตแพทย์ ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะฟันที่ห่างนั้นเกิดจากหินปูนที่สะสมอยู่ตามซอกเหงือก ทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและเกิดการร่นของเหงือกตามมา เมื่อขูดหินปูนออกมาจึงเห็นว่าฟันแต่ละซี่ได้ห่างออกจากกันซึ่งเป็นผลจากคราบหินปูนเอง จึงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

          ส่วนการดูแลรักษาฟันจากคราบหินปูน ได้แก่ การแปรงฟันให้สะอาดอย่างถูกวิธี แปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวันเวลาเช้าและเย็น และถ้าสามารถแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันได้ก็จะเป็นการดี แต่ถ้าไม่สามารถทำได้อาจแนะนำให้บ้วนน้ำ 2-3 ครั้ง หลังมื้อกลางวัน และหลีกเลี่ยงของหวานระหว่างมื้อ รวมทั้งพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง.

 

ที่มาข้อมูล: เดลินิวส์

 

                                                       update : 03-07-60

                                                       อัพเดทโดย : จารุทรรศน์ สิทธิสมบูรณ์  

หมวดหมู่ :
  • คราบหินปูน
  • ปาก
  • ฟัน
  • เรื่องเด็กเด็ก
  • เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็น
  • เปิดอ่าน 607 ครั้ง
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ

ทิปคุยได้เรื่องเพศ

  • คุยเรื่องเพศกับลูกอย่างไรดี?
  • ‘8 วอร์มอัพ’ ก่อนคุยเรื่องเพศกับลูก
  • `หอยแครง` กินได้สบายใจ
  • `เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น` ตอนที่ 2
  • 'เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น’ ตอนที่ 1
  • “รักลูก” ต้องสอนลูกให้ “รักเป็น”
  • สอนให้คิด พัฒนาเด็ก `ฉลาดและดี`
  • อย่าอายที่จะสอนเรื่องเพศกับลูก
  • วัยรุ่นถึงวัยใจอ่อนไหวกับความรัก
  • ฟังอย่างไรให้ลูกพูด

เรื่องเด็กเด็ก

  • อาการท้องผูก
  • วิธีพูดเชิงบวกกับลูก...
  • อ่านหนังสือจากหน้าจอส่งผลต่อสุขภาพ
  • 7เทคนิคขับรถปลอดภัยในช่วงปีใหม่
  • ‘5 วิธีคิด’ สร้างความสุขใหม่ในชีวิตเดิม
  • พร้อมรับมือ เมื่อลูกอกหัก
  • วิธีจัดการกับอารมณ์ของวัยรุ่น
  • 8 ขั้นสร้างความไว้วางใจ คุยกับลูกเรื่องเพศ
  • 'คราบหินปูน' อันตรายกว่าที่คิด
  • 7 ประโยชน์ที่คุณควรหัวเราะ

วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ

  • "ขนตาปลอม" มีอันตรายต่อดวงตาหรือไม่
  • ถ้าเป็นสิว เมื่อไรควรไปพบแพทย์
  • 8 เคล็ดลับห่างไกลจากโรคทางอารมณ์
  • 4 อาการ ‘ผู้หญิง ’ อย่านิ่งนอนใจ
  • ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
  • `เครื่องสำอาง` ได้มาตรฐาน ดูอย่างไร?
  • โรคหูดับ
  • จริงหรือ...! ที่วัยรุ่นขี้เซา
  • "โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์" ใครว่าไม่อันตราย
  • สัญญาณเตือน “โรคภูมิแพ้ตัวเอง”

เข้าใจจุดซ่อนเร้น

  • ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ควรดูแลตัวเองแบบไหน
  • ริดสีดวงทวารหนัก...ดูแลสุขภาพอย่างไร
  • สีอวัยวะเพศนั้นสำคัญไฉน
  • ท้องนอกมดลูก
  • ว่ายน้ำได้ไหม?...ในวันนั้น(ของเดือน)
  • ดูแลตัวเองให้ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก
  • ต้านมะเร็งเต้านม เน้นกลุ่มเสี่ยง`โสด-มีลูกช้า`
  • ตุ่มอะไรอยู่ในร่มผ้า? เรื่องจุดซ่อนเร้น...ที่ผู้หญิงต้องใส่ใจ
  • “หัวนม” แบบไหน “ไม่ปกติ”
  • ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย!!

ไขความลับเรื่องเพศ

  • การทำหมันหญิง
  • “เอชพีวี” ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด
  • สิ่งที่ควรรู้ เพื่อป้องกันความรุนแรง
  • โรคหลอดเลือดสมองส่งผลด้านเพศ
  • วิ่งออกกำลังกาย มีผลอย่างไรต่อเซ็กส์
  • แค่ไหนเรียก ‘ติดเซ็กซ์’
  • เราควรตรวจมะเร็งปากมดลูกบ่อยแค่ไหน
  • “คนท้องออกกำลังกาย”ได้หรือไม่
  • นวัตกรรมช่วย“หญิงมีลูกยาก”
  • ปวดท้องน้อยในผู้ชาย อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง

  • เคล็ด (ไม่) ลับ หยุดความรุนแรงในครอบครัว
  • 5 สิ่งควรรู้สำหรับผู้หญิง
  • 7 วิธีรักษาความรัก เมื่อหัวใจของคุณกำลังอ่อนแอ
  • เคล็ด(ไม่)ลับ สร้างสุขชีวิตคู่
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อรักผิดหวัง
  • มีอะไรกันแบบนี้จะท้องไหม?
  • สร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อรักผิดหวัง
  • เซ็กส์หลังคลอด…เมื่อไรดี?
  • 10 กฎเหล็กเพื่อชีวิตคู่
  • 9 วิธี `รัก` อย่างไรไม่เป็นทุกข์
creative-commons แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
  • logo-Thaihealth
  • logo-Whaf
  • logo-Changefusion
  • logo-Opendream