เข้าชมเว็บไซต์ สสส.
Skip to main content
talk about SEX logo talk about SEX
Syndicate content

ค้นหา

Primary links

  • หน้าแรก
  • เรื่องน่ารู้
    • เรื่องเด็กเด็ก
    • วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ
    • เข้าใจจุดซ่อนเร้น
    • ไขความลับเรื่องเพศ
    • เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง
    • ทิปคุยได้เรื่องเพศ
  • บอร์ดพูดคุย
  • แบบทดสอบ
  • อัพเดทข่าว
  • มัลติมีเดีย
  • แหล่งข้อมูล
    • ดาวน์โหลด
    • รวมลิงค์ เพศศึกษา
  • รู้จักกัน
    • ติชม/เสนอแนะ
หน้าแรก » เรื่องน่ารู้ » เข้าใจจุดซ่อนเร้น » 8 สัญญาณเตือน ลำไส้กำลังมีปัญหา

ขนาดตัวอักษร ขนาดปกติ|ขนาดใหญ่ขึ้น 10%|ขนาดใหญ่ขึ้น 20%|ขนาดใหญ่ขึ้น 30%

8 สัญญาณเตือน ลำไส้กำลังมีปัญหา

วันที่ 22 December 16 18:17:58 | โดย editor

สัญญาณเตือนจากร่างกายเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม อาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจกำลังบอกว่าคุณกำลังป่วยได้ อย่างเช่น 8 อาการต่อไปนี้ ที่กำลังส่งสัญญาณฟ้องว่า ลำไส้ของคุณมีปัญหา!!! และควรได้รับการฟื้นฟูใหม่

1. ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก

ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยจะบ่งบอกว่าลำไส้ของคุณไม่สามารถย่อยอาหารให้กลายเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจบอกว่าคุณเป็นโรคลำไส้แปรปรวน โรคลำไส้รั่ว ภาวะแบคทีเรียในลำไส้เล็กมากเกินไป หรือโรคกรดไหลย้อนและจำเป็นต้องรับประทานยาทุกวัน ทว่านี่ไม่ใช่การรักษาต้นตอของอาการ เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้ลำไส้เสียหายรุนแรงได้ ดังนั้นคุณควรรักษาให้ถึงสาเหตุที่แท้จริง

2. ลดน้ำหนักไม่ลงโดยเฉพาะรอบเอว

คำอธิบายง่ายๆ สำหรับข้อนี้คือ ลำไส้ของคุณส่งผลต่อกระบวนการเผาผลาญ เนื่องจากไม่มีเชื้อจุลชีพในการย่อยไขมันหรือคาร์โบไฮเดรตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาคือของเสียจะถูกกักเก็บไว้เป็นเนื้อเยื่อไขมันซึ่งปกติจะสะสมอยู่ตามรอบเอวของคุณ

3. ไม่สบายบ่อย

ระบบภูมิคุ้มกันอย่างน้อยร้อยละ 70 อยู่ในลำไส้ของคุณซึ่งหมายความว่าหากลำไส้ขาดความสมดุลคุณก็มีโอกาสรับเชื้อไวรัสมากขึ้นและป่วยบ่อยเนื่องจากร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ ด้วยเหตุนี้ฉันจึงแนะนำว่าควรรักษาลำไส้ของคุณก่อนที่จะต้องรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ

4. ผิวพรรณเริ่มย่ำแย่

ผิวหนังของคนเราเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายและสามารถบ่งบอกได้ว่าเกิดอะไรขึ้นภายใน ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจสังเกตว่าเมื่อไหร่ที่คุณรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ผิวพรรณของคุณก็จะเปล่งปลั่ง แต่เมื่อใดที่คุณป่วยหรือรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดใบหน้าของคุณก็จะหม่นหมอง นั่นเป็นเพราะผู้ที่มีผิวพรรณดีมีแนวโน้มว่าจะมีแบคทีเรียลำไส้ดี ในทางกลับกันหากขาดความสมดุลก็จะหมายถึงการอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และฮอร์โมนแปรปรวนทำให้คุณมีโอกาสเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ ผิวแห้งหรือผิวมันมาก และโรคผิวหนังอักเสบ

5. เหนื่อยง่ายและรู้สึกเพลียตลอดเวลา

หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อ (CDC) ประเมินว่ามีชาวอเมริกันอย่างน้อยหนึ่งล้านคนที่ป่วยเป็นโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง CFS) ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคลำไส้รั่ว ดังนั้นต้องรักษาสุขภาพของระบบย่อยอาหารก่อน

6. เครียด อารมณ์แปรปรวน หรือซึมเศร้า

รู้หรือไม่ว่าสารเซโรโทนินหรือสารสื่อประสาทที่ช่วยกำหนดอารมณ์ที่สำคัญของคุณร้อยละ 95 นั้น อันที่จริงอยู่ในลำไส้ไม่ใช่อยู่ในสมอง ความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันระหว่างสุขภาพลำไส้กับสุขภาพประสาทจึงค่อนข้างชัดเจน

7. ความจำสับสน-ความคิดไม่แจ่มใส

คุณอาจรู้สึกว่าสมองของตัวเองไม่แล่นเอาเสียเลย ลืมกระทั่งคำศัพท์ง่ายๆ ลืมว่าวางโทรศัพท์ไว้ที่ไหน และแม้กระทั่งการคิดเลขในใจ สาเหตุคือเมื่อลำไส้ของคุณอักเสบสมองก็อาจอักเสบด้วยเช่นกันและทำให้กระบวนการรับรู้ล้มเหลว

8. มีปัญหาภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง

ลำไส้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เมื่อลำไส้รั่วแอนติบอดี้จะโจมตีอนุภาคที่หลุดออกไปซึ่งอาจกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันมากเกินไปจนนำไปสู่ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น ไทรอยด์หรือต่อมหมวกไตอ่อนล้า

 

 ที่มาข้อมูล:   เว็บไซต์แนวหน้า

 

                                                      update : 22-12-59

                                                                  อัพเดทโดย : จารุทรรศน์ สิทธิสมบูรณ์ 

หมวดหมู่ :
  • เข้าใจจุดซ่อนเร้น
  • เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็น
  • เปิดอ่าน 761 ครั้ง
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ

ทิปคุยได้เรื่องเพศ

  • เริ่มคุยเรื่องเพศกับลูกเมื่อไหร่ดี?
  • คำถาม(เรื่องเพศ)ยอดฮิตที่ลูกชอบถาม
  • ทำความเข้าใจ ‘อาการโรคจิต’
  • 10 ความคิดเปลี่ยน ชีวิตก็เปลี่ยน
  • คุยเรื่องเพศกับลูกอย่างไรดี?
  • ‘8 วอร์มอัพ’ ก่อนคุยเรื่องเพศกับลูก
  • `หอยแครง` กินได้สบายใจ
  • `เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น` ตอนที่ 2
  • 'เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น’ ตอนที่ 1
  • “รักลูก” ต้องสอนลูกให้ “รักเป็น”

เรื่องเด็กเด็ก

  • การนอนหลับที่ดีทำอย่างไร
  • เปลี่ยนอารมณ์ติดลบ เป็นอารมณ์บวก
  • ทำความรู้จักประเภทของอารมณ์
  • กินอย่างไรเมื่อ ท้องเสียเฉียบพลัน
  • ปวดหัวข้างเดียว อาจไม่เกี่ยวกับไมเกรน
  • ดื่มน้ำอย่างไรให้ร่างกายสดชื่น
  • เย็นนี้กินยังไงดี ?
  • เรื่องที่ต้องเลี่ยงหลังกินอิ่ม
  • ยืดเหยียดเพื่อยืดหยุ่น
  • กินอาหารอย่างถูกวิธี ตามแพทย์แผนตะวันตก คือปฏิบัติดังนี้

วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ

  • CHECKLIST คุณกำลังเข้าข่ายคนบ้างานหรือไม่
  • เปลี่ยนตัวเองต้องตั้งใจ ไม่ใช่อาศัยความกดดันไปวัน ๆ
  • กินยาคุมแบบ21เม็ดครบแล้ว เว้น7วัน ประจำเดือนไม่มาซะงั้น
  • นี่คือสิ่งที่คนมีความสุขจะทำ ใน 5 นาทีแรกของวันตั้งแต่ตื่นนอน
  • ผู้หญิงช่วยตัวเองแล้วเลือดออก เกิดจากอะไรได้บ้าง
  • ผลของสุราและแอลกอฮอล์ที่มีต่อร่างกาย
  • เลิกบุหรี่ ต้องตั้งใจลงมือทำ
  • พูดไม่รู้เรื่อง กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจเป็นโรคโมยาโมยา
  • การขจัดความเครียด
  • ภาวะอารมณ์กับความเครียด

เข้าใจจุดซ่อนเร้น

  • หนุ่มๆ ต้องดูแลน้องชายอย่างไร ให้สะอาดและสุขภาพดี
  • เลิกอาย ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้
  • ปวดท้องตรงกลาง ปวด ๆ หาย ๆ ป่วยอะไรได้บ้าง
  • “ขี้เปียก” เรื่องที่ผู้ชายควรใส่ใจ
  • 7 อาหารแก้ปวดประจำเดือน กินแล้วชีวิตดี๊ดี
  • มีตกขาว ไม่ต้องตกใจ
  • เข่าลั่นขณะปั่น สัญญาณปัญหาเข่า
  • ว่าด้วยข้อเท็จจริงและความเอียงเอนของอวัยวะเพศชาย
  • ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ควรดูแลตัวเองแบบไหน
  • ริดสีดวงทวารหนัก...ดูแลสุขภาพอย่างไร

ไขความลับเรื่องเพศ

  • ผู้ชายแมนจริงต้องอึดเวลาร่วมเพศงั้นหรือ?
  • อวัยวะเพศชายหักได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกระดูก?
  • หนูๆวัยอนุบาลกับ “การช่วยตัวเอง”
  • ก่อนมีเมนส์ ..อาการไหนไม่ปกติ?
  • วิถีชีวิตประจำวันที่มีผลต่อหมอนรองกระดูก
  • เมื่อมีลูกสาววัยรุ่น
  • 5 สารอาหารเสริมสร้างความแข็งแรงสำหรับคุณผู้ชาย
  • รู้ทันมะเร็งปากมดลูก
  • การทำหมันหญิง
  • “เอชพีวี” ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด

เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง

  • เคล็ด (ไม่) ลับ หยุดความรุนแรงในครอบครัว
  • 5 สิ่งควรรู้สำหรับผู้หญิง
  • 7 วิธีรักษาความรัก เมื่อหัวใจของคุณกำลังอ่อนแอ
  • เคล็ด(ไม่)ลับ สร้างสุขชีวิตคู่
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อรักผิดหวัง
  • มีอะไรกันแบบนี้จะท้องไหม?
  • สร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อรักผิดหวัง
  • เซ็กส์หลังคลอด…เมื่อไรดี?
  • 10 กฎเหล็กเพื่อชีวิตคู่
  • 9 วิธี `รัก` อย่างไรไม่เป็นทุกข์
creative-commons แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
  • logo-Thaihealth
  • logo-Whaf
  • logo-Changefusion
  • logo-Opendream