เข้าชมเว็บไซต์ สสส.
Skip to main content
talk about SEX logo talk about SEX
Syndicate content

ค้นหา

Primary links

  • หน้าแรก
  • เรื่องน่ารู้
    • เรื่องเด็กเด็ก
    • วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ
    • เข้าใจจุดซ่อนเร้น
    • ไขความลับเรื่องเพศ
    • เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง
    • ทิปคุยได้เรื่องเพศ
  • บอร์ดพูดคุย
  • แบบทดสอบ
  • อัพเดทข่าว
  • มัลติมีเดีย
  • แหล่งข้อมูล
    • ดาวน์โหลด
    • รวมลิงค์ เพศศึกษา
  • รู้จักกัน
    • ติชม/เสนอแนะ
หน้าแรก » เรื่องน่ารู้ » condom » ถุงยางแห่งอนาคต

ขนาดตัวอักษร ขนาดปกติ|ขนาดใหญ่ขึ้น 10%|ขนาดใหญ่ขึ้น 20%|ขนาดใหญ่ขึ้น 30%

ถุงยางแห่งอนาคต

วันที่ 26 February 15 13:32:08 | โดย editor

เรารู้กันดีว่าถุงยางอนามัยเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์และการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ตามข้อมูลของหน่วยงานด้านโรคติดต่อของอเมริกา (NIAID) ระบุว่าตัวถุงมีโอกาสรั่ว หรือฉีกขาดเพียงแค่ 0.4-2.3เปอร์เซ็นต์ และมีโอกาสหลุดหลังจากการมีเซ็กซ์เสร็จ เพียง 0.6-1.3เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

          นอกจากนี้ ถุงยางอนามัยยังเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ราคาถูก กระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน กระจายผลิตภัณฑ์ได้อย่างทั่วถึงในทุกภูมิภาค การใช้งานสะดวกเพราะผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางด้านการแพทย์ หรือต้องรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเหมือนเครื่องมือคุมกำเนิดวิธีอื่นๆ

            คำถามที่ตามมาคือ เพราะเหตุใดจำนวนผู้ใช้ถุงยางอนามัยถึงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และทำไมถึงมีจำนวนผู้ติดเชื้อ HIV ทั้งโลกถึงมากถึง 35ล้านคน (ตามข้อมูลของ WHO ในปี 2012)

           Bill & Melinda Gates Foundation ของเจ้าพ่อไมโครซอฟต์ได้ทำโครงการรณรงค์โรคเอดส์ในทวีปอัฟริกา และค้นพบว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชายอัฟริกันมีการใช้ถุงยางอนามัยต่ำด้วยทัศนคติที่ว่าการสวมใส่ถุงยางอนามัยจะทำให้ความสุขสมทางเพศน้อยลง และคำกล่าวอ้างดังกล่าวก็เป็นเหตุผลหลักที่ผู้ชายทั่วโลกใช้อธิบายเหตุผลที่ไม่ใส่ถุงยางขณะมีเซ็กซ์

          ขณะที่ข้อมูลอัตราการคุมกำเนิดของคนทั่วโลกในปี 2011โดยองค์การสหประชาชาติ ระบุว่าคู่สามีภรรยาใช้ถุงยางอนามัยเพื่อคุมกำเนิดเพียง 7.6เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการกินยาคุมที่ 8.8เปอร์เซ็นต์

          เพื่อรณรงค์ให้ผู้ชายหันมาใช้ถุงยางอนามัยกันมากขึ้น Bill & Melinda Gates Foundation จึงริเริ่มโครงการ “ถุงยางรุ่นใหม่” (Next Generation Condom) ในเดือนมีนาคม ปี 2013โครงการนี้เปิดรับสมัครไอเดียจากคนทั่วทุกมุมโลกเพื่อตอบโจทย์ที่ว่า ถุงยางรุ่นใหม่จะต้องให้ผิวสัมผัสที่สมจริง สวมใส่ได้สะดวกรวดเร็วกว่าเดิม รวมไปถึงการพัฒนาถุงยางอนามัยผู้หญิงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

          ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน มูลนิธิของสองสามีภรรยาเกตส์ก็ได้ประกาศชื่อ 11โครงการที่เข้าตากรรมการที่สุดเพื่อรับเงินสนับสนุนรายละ 100,000ดอลลาร์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และจะได้รับทุนเพิ่มหากโครงการมีความก้าวหน้าในอนาคต

          ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ อาทิ ถุงยางที่รองรับการกระแทกและรัดรูปขณะมีเซ็กซ์ ถุงยางแบบติดคล้ายกับฟิล์มถนอมอาหาร ถุงยางเก็บความร้อน แท่งช่วยใส่ถุงยาง ฯลฯ ซึ่งล้วนใช้วัตถุดิบในการผลิตแตกต่างกันไป แต่อยู่ภายใต้แนวคิดเดียวกันคือถุงยางแบบใหม่ต้องให้ความสุขขณะมีเซ็กซ์

          นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการอีกหลายรายที่พยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ถุงยางเพื่อให้น่าใช้มากขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือถุงยางของบริษัท Origami Condoms ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการพับกระดาษแบบญี่ปุ่น โดยตัวถุงยางมีลักษณะเป็นปล้อง สามารถพับได้ ยืดหยุ่นได้ขณะมีเซ็กซ์ทำให้ได้รับการสัมผัสที่ดีกว่า และมีทั้งถุงยางผู้ชาย ถุงยางผู้หญิง และถุงยางสำหรับทวารหนักโดยเฉพาะ ซึ่งจะเปิดวางจำหน่ายตั้งแต่ปี 2015

          ถุงยางแห่งอนาคตอีกอันหนึ่งที่น่าสนใจคือถุงยางที่ชื่อว่า The Galactic Cap สาเหตุที่ใช้ชื่อนี้เพราะตัวถุงยางมีรูปร่างเหมือนหมวกอวกาศ โดยจะสวมใส่เฉพาะส่วนหัวของอวัยวะเพศ และมีฐานฟิล์มรองรับด้านล่างกันหมวกตก คาดว่าจะออกสู่ท้องตลาดในปี 2015เช่นกัน

          หากถุงยางเหล่านี้พัฒนาจนแล้วเสร็จและออกสู่ท้องตลาด คุณผู้ชายทั้งหลายจะไม่สามารถอ้างเรื่องถุงยางทำให้มีเซ็กซ์ไม่สนุก ส่วนคุณผู้หญิง ก็ไม่ต้องรอให้ผู้ชายเป็นคนสวมถุงยางแต่ฝ่ายเดียวเหมือนในอดีต เพราะผู้หญิงจะใส่ถุงยางของตนเองได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และใช้งานง่ายกว่าเดิมด้วยเช่นกัน

 

ที่มาข้อมูล : คอลัมน์ “ส่องเซ็กซ์ รอบโลก” นิตยสารเนชั่น สุดสัปดาห์ , เรื่องโดย พงศธร ชมภูนุทยรรยง มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.)

 

Update: 26-02-58
อัพเดทเนื้อหาโดย: จารุทรรศน์ สิทธิสมบูรณ์

หมวดหมู่ :
  • condom
  • ถุงยาง
  • ถุงยางอนามัย
  • วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ
  • เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็น
  • เปิดอ่าน 1489 ครั้ง
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ

ทิปคุยได้เรื่องเพศ

  • เริ่มคุยเรื่องเพศกับลูกเมื่อไหร่ดี?
  • คำถาม(เรื่องเพศ)ยอดฮิตที่ลูกชอบถาม
  • ทำความเข้าใจ ‘อาการโรคจิต’
  • 10 ความคิดเปลี่ยน ชีวิตก็เปลี่ยน
  • คุยเรื่องเพศกับลูกอย่างไรดี?
  • ‘8 วอร์มอัพ’ ก่อนคุยเรื่องเพศกับลูก
  • `หอยแครง` กินได้สบายใจ
  • `เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น` ตอนที่ 2
  • 'เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น’ ตอนที่ 1
  • “รักลูก” ต้องสอนลูกให้ “รักเป็น”

เรื่องเด็กเด็ก

  • การนอนหลับที่ดีทำอย่างไร
  • เปลี่ยนอารมณ์ติดลบ เป็นอารมณ์บวก
  • ทำความรู้จักประเภทของอารมณ์
  • กินอย่างไรเมื่อ ท้องเสียเฉียบพลัน
  • ปวดหัวข้างเดียว อาจไม่เกี่ยวกับไมเกรน
  • ดื่มน้ำอย่างไรให้ร่างกายสดชื่น
  • เย็นนี้กินยังไงดี ?
  • เรื่องที่ต้องเลี่ยงหลังกินอิ่ม
  • ยืดเหยียดเพื่อยืดหยุ่น
  • กินอาหารอย่างถูกวิธี ตามแพทย์แผนตะวันตก คือปฏิบัติดังนี้

วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ

  • CHECKLIST คุณกำลังเข้าข่ายคนบ้างานหรือไม่
  • เปลี่ยนตัวเองต้องตั้งใจ ไม่ใช่อาศัยความกดดันไปวัน ๆ
  • กินยาคุมแบบ21เม็ดครบแล้ว เว้น7วัน ประจำเดือนไม่มาซะงั้น
  • นี่คือสิ่งที่คนมีความสุขจะทำ ใน 5 นาทีแรกของวันตั้งแต่ตื่นนอน
  • ผู้หญิงช่วยตัวเองแล้วเลือดออก เกิดจากอะไรได้บ้าง
  • ผลของสุราและแอลกอฮอล์ที่มีต่อร่างกาย
  • เลิกบุหรี่ ต้องตั้งใจลงมือทำ
  • พูดไม่รู้เรื่อง กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจเป็นโรคโมยาโมยา
  • การขจัดความเครียด
  • ภาวะอารมณ์กับความเครียด

เข้าใจจุดซ่อนเร้น

  • หนุ่มๆ ต้องดูแลน้องชายอย่างไร ให้สะอาดและสุขภาพดี
  • เลิกอาย ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้
  • ปวดท้องตรงกลาง ปวด ๆ หาย ๆ ป่วยอะไรได้บ้าง
  • “ขี้เปียก” เรื่องที่ผู้ชายควรใส่ใจ
  • 7 อาหารแก้ปวดประจำเดือน กินแล้วชีวิตดี๊ดี
  • มีตกขาว ไม่ต้องตกใจ
  • เข่าลั่นขณะปั่น สัญญาณปัญหาเข่า
  • ว่าด้วยข้อเท็จจริงและความเอียงเอนของอวัยวะเพศชาย
  • ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ควรดูแลตัวเองแบบไหน
  • ริดสีดวงทวารหนัก...ดูแลสุขภาพอย่างไร

ไขความลับเรื่องเพศ

  • ผู้ชายแมนจริงต้องอึดเวลาร่วมเพศงั้นหรือ?
  • อวัยวะเพศชายหักได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกระดูก?
  • หนูๆวัยอนุบาลกับ “การช่วยตัวเอง”
  • ก่อนมีเมนส์ ..อาการไหนไม่ปกติ?
  • วิถีชีวิตประจำวันที่มีผลต่อหมอนรองกระดูก
  • เมื่อมีลูกสาววัยรุ่น
  • 5 สารอาหารเสริมสร้างความแข็งแรงสำหรับคุณผู้ชาย
  • รู้ทันมะเร็งปากมดลูก
  • การทำหมันหญิง
  • “เอชพีวี” ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด

เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง

  • เคล็ด (ไม่) ลับ หยุดความรุนแรงในครอบครัว
  • 5 สิ่งควรรู้สำหรับผู้หญิง
  • 7 วิธีรักษาความรัก เมื่อหัวใจของคุณกำลังอ่อนแอ
  • เคล็ด(ไม่)ลับ สร้างสุขชีวิตคู่
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อรักผิดหวัง
  • มีอะไรกันแบบนี้จะท้องไหม?
  • สร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อรักผิดหวัง
  • เซ็กส์หลังคลอด…เมื่อไรดี?
  • 10 กฎเหล็กเพื่อชีวิตคู่
  • 9 วิธี `รัก` อย่างไรไม่เป็นทุกข์
creative-commons แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
  • logo-Thaihealth
  • logo-Whaf
  • logo-Changefusion
  • logo-Opendream