เข้าชมเว็บไซต์ สสส.
Skip to main content
talk about SEX logo talk about SEX
Syndicate content

ค้นหา

Primary links

  • หน้าแรก
  • เรื่องน่ารู้
    • เรื่องเด็กเด็ก
    • วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ
    • เข้าใจจุดซ่อนเร้น
    • ไขความลับเรื่องเพศ
    • เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง
    • ทิปคุยได้เรื่องเพศ
  • บอร์ดพูดคุย
  • แบบทดสอบ
  • อัพเดทข่าว
  • มัลติมีเดีย
  • แหล่งข้อมูล
    • ดาวน์โหลด
    • รวมลิงค์ เพศศึกษา
  • รู้จักกัน
    • ติชม/เสนอแนะ
หน้าแรก » เรื่องน่ารู้ » ครอบครัว » “รักลูก” ต้องสอนลูกให้ “รักเป็น”

ขนาดตัวอักษร ขนาดปกติ|ขนาดใหญ่ขึ้น 10%|ขนาดใหญ่ขึ้น 20%|ขนาดใหญ่ขึ้น 30%

“รักลูก” ต้องสอนลูกให้ “รักเป็น”

วันที่ 2 September 14 16:55:31 | โดย editor

เชื่อว่า ละครรักวัยรุ่นที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ น่าจะเป็นบทสะท้อนให้พ่อแม่และผู้ปกครองยุคไอทีนี้ได้เป็นอย่างดีว่า ควรสอนหรือให้ความรักกับลูกอย่างไร จึงจะทำให้ลูกรัก มีความรักที่เหมาะสม ในเมื่อ “ความรัก” เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เหล่าวัยรุ่นทุกคนต้องพบเจอ

            พ.ญ. อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ให้คำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่น และกำลังเรียนรู้เรื่องความรักว่า วัยรุ่นเริ่มรับรู้และมองเห็นความรักทุกรูปแบบทั้งความรักในครอบครัว และความรักแบบหญิงชาย ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่พ่อและแม่ควรให้ความใส่ใจ และให้ความรู้กับลูกอย่างเหมาะสม เพราะเมื่อลูกเข้าสู่เส้นทางความรักพวกเขาจะได้รักได้อย่างถูกต้อง และมีความรับผิดชอบ

             “การเรียนรู้เรื่องความรักอย่างถูกทิศทางนั้น หมายถึง การได้เห็นสิ่งที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เขาดูแลความรักได้เหมาะสม ดูแลความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างลงตัว รู้จักวิเคราะห์ แยกแยะ ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ รวมถึงรู้เท่าทันอารมณ์คนอื่นด้วย ปัจจัยทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความใกล้ชิดจากพ่อแม่ คอยแลกเปลี่ยนมุมมองกับลูกเสมอๆ พร้อมทั้งสอนถึงสิ่งดีงามที่จะเกิดจากการมีความรักที่เหมาะสม สอนถึงการแก้ปัญหาจากความรักที่ไม่ลงตัวโดยให้ลูกฝึกคิดพิเคราะห์ถึงความถูกต้อง” พ.ญ. อัมพร กล่าว

            คุณพ่อ และคุณแม่ต่างมีบทบาทแตกต่างที่หนุนเสริมกันในบริบทของการเป็นที่ปรึกษาของลูกได้ ซึ่งความแตกต่างที่ว่านั้น คือ อารมณ์ ความรู้ ความเข้าใจ ค่านิยม ความคาดหวัง และกรอบของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในเพศหญิง และเพศชาย เพราะเด็กจะเรียนรู้ผ่านพ่อแม่ที่เป็นเพศเดียวกันกับตน เรียนรู้ความรู้สึกนึกคิด หรือวิธีการปรับตัวกับเพศตรงข้าม ซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึกง่ายขึ้นในการยอมรับความแตกต่างของเพศชายและหญิงที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะนำไปสู่การมีความรักและการชีวิตคู่ที่ดี

            “บทบาทของคุณพ่อนั้นทำให้ลูกผู้ชาย เรียนรู้ในเรื่องกลไกการดูแล การให้เกียรติเพศตรงข้าม  รู้ว่าการเป็นสุภาพบุรุษสำหรับผู้หญิงนั้นเป็นอย่างไร สำหรับลูกผู้หญิง สิ่งที่จะได้เรียนรู้จากคุณพ่อก็คือประเภทของความรักที่เข้ามาว่า คนบางคนไม่ได้มาทำความรู้จัก เพราะความรักเพียงอย่างเดียว

            ด้านบทบาทของคุณแม่ ลูกสาวจะได้เรียนรู้ ความอ่อนโยน ความละเอียดอ่อน ในขณะเดียวกันก็จะมีความเข้มแข็งที่จะแยกแยะความรู้สึกออกว่าเป็นความรักหรือความใคร่ ส่วนลูกชายนั้น เมื่อซึมซับความอ่อนโยนจากแม่แล้ว จะรู้จักให้เกียรติและดูแลเพศหญิง” พ.ญ. อัมพร กล่าว

            โดยคุณหมออธิบายเพิ่มเติมว่า การที่ลูกจะปรึกษาคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องความรักได้นั้น จะต้องเกิดมาจากความใกล้ชิดที่พ่อกับแม่มีให้ลูกตั้งแต่อายุน้อยๆ เพราะแม้เรื่องราวความรักจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ธรรมชาติของเด็กหลายคนจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้น หากลูกไม่มีความผูกพันกับพ่อแม่ หรือมีประสบการณ์ที่รับรู้ได้ว่า ทั้งพ่อและแม่สามารถรับเรื่องราวของเขาได้โดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ต่อว่า คาดหวัง หรือกดดัน แต่เป็นบุคคลที่พร้อมจะเปิดใจ ยืนเคียงข้าง และให้เกียรติต่อมุมมองของลูกแล้วล่ะก็เมื่อลูกมีปัญหาใดๆ ก็ตาม พวกเขาย่อมจะนึกถึงพ่อแม่เป็นคนแรกเสมอๆ …

  

ที่มาข้อมูล :  www.thaihealth.or.th เรื่องโดย อาภาวรรณ  โสภณธรรมรักษ์ 

 

 

Update: 02-09-57
อัพเดทเนื้อหาโดย: จารุทรรศน์ สิทธิสมบูรณ์

 

หมวดหมู่ :
  • ครอบครัว
  • คุยได้
  • ทิปคุยได้เรื่องเพศ
  • ผู้ปกครอง
  • พ่อแม่
  • ลูก
  • วัยรุ่น
  • เด็ก
  • เยาวชน
  • เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็น
  • เปิดอ่าน 2407 ครั้ง
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ

ทิปคุยได้เรื่องเพศ

  • คุยเรื่องเพศกับลูกอย่างไรดี?
  • ‘8 วอร์มอัพ’ ก่อนคุยเรื่องเพศกับลูก
  • `หอยแครง` กินได้สบายใจ
  • `เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น` ตอนที่ 2
  • 'เหนื่อยใจ-เข้าใจ-รักใคร่-ลูกวัยรุ่น’ ตอนที่ 1
  • “รักลูก” ต้องสอนลูกให้ “รักเป็น”
  • สอนให้คิด พัฒนาเด็ก `ฉลาดและดี`
  • อย่าอายที่จะสอนเรื่องเพศกับลูก
  • วัยรุ่นถึงวัยใจอ่อนไหวกับความรัก
  • ฟังอย่างไรให้ลูกพูด

เรื่องเด็กเด็ก

  • อาการท้องผูก
  • วิธีพูดเชิงบวกกับลูก...
  • อ่านหนังสือจากหน้าจอส่งผลต่อสุขภาพ
  • 7เทคนิคขับรถปลอดภัยในช่วงปีใหม่
  • ‘5 วิธีคิด’ สร้างความสุขใหม่ในชีวิตเดิม
  • พร้อมรับมือ เมื่อลูกอกหัก
  • วิธีจัดการกับอารมณ์ของวัยรุ่น
  • 8 ขั้นสร้างความไว้วางใจ คุยกับลูกเรื่องเพศ
  • 'คราบหินปูน' อันตรายกว่าที่คิด
  • 7 ประโยชน์ที่คุณควรหัวเราะ

วัยโจ๋รู้เรื่องเพศ

  • "ขนตาปลอม" มีอันตรายต่อดวงตาหรือไม่
  • ถ้าเป็นสิว เมื่อไรควรไปพบแพทย์
  • 8 เคล็ดลับห่างไกลจากโรคทางอารมณ์
  • 4 อาการ ‘ผู้หญิง ’ อย่านิ่งนอนใจ
  • ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
  • `เครื่องสำอาง` ได้มาตรฐาน ดูอย่างไร?
  • โรคหูดับ
  • จริงหรือ...! ที่วัยรุ่นขี้เซา
  • "โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์" ใครว่าไม่อันตราย
  • สัญญาณเตือน “โรคภูมิแพ้ตัวเอง”

เข้าใจจุดซ่อนเร้น

  • ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ควรดูแลตัวเองแบบไหน
  • ริดสีดวงทวารหนัก...ดูแลสุขภาพอย่างไร
  • สีอวัยวะเพศนั้นสำคัญไฉน
  • ท้องนอกมดลูก
  • ว่ายน้ำได้ไหม?...ในวันนั้น(ของเดือน)
  • ดูแลตัวเองให้ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก
  • ต้านมะเร็งเต้านม เน้นกลุ่มเสี่ยง`โสด-มีลูกช้า`
  • ตุ่มอะไรอยู่ในร่มผ้า? เรื่องจุดซ่อนเร้น...ที่ผู้หญิงต้องใส่ใจ
  • “หัวนม” แบบไหน “ไม่ปกติ”
  • ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย!!

ไขความลับเรื่องเพศ

  • การทำหมันหญิง
  • “เอชพีวี” ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด
  • สิ่งที่ควรรู้ เพื่อป้องกันความรุนแรง
  • โรคหลอดเลือดสมองส่งผลด้านเพศ
  • วิ่งออกกำลังกาย มีผลอย่างไรต่อเซ็กส์
  • แค่ไหนเรียก ‘ติดเซ็กซ์’
  • เราควรตรวจมะเร็งปากมดลูกบ่อยแค่ไหน
  • “คนท้องออกกำลังกาย”ได้หรือไม่
  • นวัตกรรมช่วย“หญิงมีลูกยาก”
  • ปวดท้องน้อยในผู้ชาย อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

เข้าใจเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง

  • เคล็ด (ไม่) ลับ หยุดความรุนแรงในครอบครัว
  • 5 สิ่งควรรู้สำหรับผู้หญิง
  • 7 วิธีรักษาความรัก เมื่อหัวใจของคุณกำลังอ่อนแอ
  • เคล็ด(ไม่)ลับ สร้างสุขชีวิตคู่
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อรักผิดหวัง
  • มีอะไรกันแบบนี้จะท้องไหม?
  • สร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อรักผิดหวัง
  • เซ็กส์หลังคลอด…เมื่อไรดี?
  • 10 กฎเหล็กเพื่อชีวิตคู่
  • 9 วิธี `รัก` อย่างไรไม่เป็นทุกข์
creative-commons แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
  • logo-Thaihealth
  • logo-Whaf
  • logo-Changefusion
  • logo-Opendream